ค่าครองชีพพุ่ง! ครัวเรือนใช้จ่ายไปกับ ‘ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ ค่าไฟ’มากที่สุด
“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เปิดเผยดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในเดือนมิ.ย.65 ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนีปัจจุบันอยู่ที่ 30.8 จาก 31.2 และในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 32.9 จาก 34.0 ในเดือนพ.ค.65 แม้ว่าครัวเรือนจะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะรายได้และการจ้างงาน หลังภาครัฐมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 เพิ่มเติม ทั้งในส่วนของการเริ่มเปิดสถานบันเทิงในจังหวัดพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวและพื้นที่เฝ้าระวัง รวมถึงลดเงื่อนไขไทยแลนด์พาส เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาได้ง่ายขึ้น แต่ความกังวลเกี่ยวกับระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นจากระดับเงินเฟ้อในเดือน มิ.ย.65 ที่เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 ปี ยังคงกดดันดัชนีให้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
นอกจากนี้ยังได้สำรวจเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมมองเรื่องระดับรายได้และการจ้างงานของครัวเรือน พบว่า ครัวเรือน 41.7% กลับมามีรายได้และการจ้างงานในระดับก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว ขณะที่อีก 35.3% รายได้ปรับลดลง เนื่องจากชั่วโมงการทำงานลดลง ในขณะที่ ด้านค่าใช้จ่ายพบว่ามีมากถึง 73% ของครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายในหมวดราคาพลังงาน สาธารณูปโภค และบริการพื้นฐานในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซ ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาเพิ่มขึ้นมากที่สุด ขณะที่อีก 25% มีค่าใช้จ่ายในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นมากที่สุด
“รายได้ของครัวเรือนยังไม่สามารถกลับมาได้เต็มที่ ขณะที่ค่าใช้จ่ายจำเป็นต่าง ๆ กลับเพิ่มขึ้นในระดับที่สูง ความไม่สอดคล้องกันระหว่างรายได้ที่เท่าเดิมหรือลดลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจะยังส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อและเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคของภาคครัวเรือนในระยะต่อไป”
ทั้งนี้แนวโน้มช่วงข้างหน้ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีทิศทางกลับมาเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการปรับเปลี่ยนโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น รวมถึงการผ่อนปรนเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น การขยายเวลาการเปิดสถานบันเทิง การยกเลิกไทยแลนด์พาส และไม่ต้องมีประกันสุขภาพสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งจะทำให้มีโอกาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะเดินทางเข้ามาในไทยเยอะขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวในปี 65 อยู่ที่ 7.2 ล้านคน จาก 4 ล้านคนในช่วงต้นปี ซึ่งจะช่วยหนุนภาคการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือนให้กลับมาเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความเสี่ยงจากการระบาดของของโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนทั้งบีเอ4 และบีเอ5 ที่ปัจจุบันข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ระบุว่ากลายเป็นสายพันธุ์หลักในไทย 51.7% แล้ว และราคาสินค้าต่าง ๆ ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เช่น แก๊สหุงต้มครัวเรือนที่จะยังปรับขึ้นเป็นขั้นบันได หรือ ราคารถโดยสารต่าง ๆ ที่คณะกรรมการขนส่งมีอนุมัติให้ปรับเพิ่มขึ้น จะยังคงเป็นปัจจัยกดดันภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพครัวเรือนในระยะข้างหน้าคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาครัฐมีความจำเป็นที่จะเข้ามาประคับประคองภาคครัวเรือนในช่วงที่ภาวะรายได้ยังไม่สามารถกลับมาได้เต็มที่ โดยอาจเป็นมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มครัวเรือน หรือกลุ่มสินค้าที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน