Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย

คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย

นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 โดยมีนางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ เป็นประธานการประชุม

โดยที่ประชุม ได้เห็นชอบในหลักการที่แต่ละโครงการ กิจกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทยทั้ง 11 ด้านได้เสนอ รวม 5,164 ล้านบาท ได้แก่

"อุ๊งอิ๊งค์" เดินหน้าชู "หมูกระทะ" เป็นซอฟต์พาวเวอร์

 คกก.ซอฟต์พาวเวอร์ เคาะงบฯ 5,164 ล้าน ดัน 11 ด้านซอฟต์พาวเวอร์ไทย

“เศรษฐา- อุ๊งอิ๊งค์ นำประชุม คกก.ซอฟต์พาวเวอร์นัดแรก

1.อุตสาหกรรมเฟสติวัล ที่ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูล การสื่อสาร และการผลักดันเฟสติวัลต่าง ๆ งบประมาณที่จะใช้ 1,009 ล้านบาท

2.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เสนอจัดระบบการท่องเที่ยวใหม่ทั้งระบบ การสร้างกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว รวม 711 ล้านบาท 3.สาขาอาหาร มี 3 โครงการใหญ่ เช่น 1 หมู่บ้าน 1 เชฟอาหารไทย, เชฟชุมชน และเชฟชาแนล 1,000 ล้านบาท

4.สาขาศิลปะไทย จำนวน 5 โครงาร อาทิ เปิดหอศิลป์บริเวณถนนรัชดาภิเษก, จัดตั้งสภาศิลปะแห่งประเทศไทย, จัดกองทุนสนับสนุนศิลปการแสดงร่วมสมัย รวมงบประมาณประมาณ 380 ล้านบาท

5.สาขาออกแบบ ส่งเสริมไทยแลนด์แบรนด์ ใช้งบประมาณประมาณ 310 ล้านบาท

6.สาขากีฬา เน้นส่งสริมประสิทธิภาพมวยไทย กิจกรรมมวยไทย ทั้งใน และต่างประเทศ ประมาณ 500 ล้านบาท

7.สาขาดนตรี ในการพัฒนาหลักสูตรเฉพาะ และส่งเสริมการฝึกอบรม ส่งเสริมศิลปินไทยสู่ระดับโลก 144 ล้านบาท

8.สาขาหนังสือ ให้หนังสือไทยออกสู่หนังสือนานาชาติ 69 ล้านบาท

9.สาขาภาพยนตร์ ละคร และซีรีส์ การจัดเทศกาลเอกซ์โปรในประเทศ และต่างประเทศ ส่งเสริมการสร้างภาพยนตร์ และซีรีส์ ผลักดันสู่ออสการ์ 545 ล้านบาทคำพูดจาก เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์

10.สาขาแฟชั่น พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ การเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการ และส่งเสริมการแสดงสินค้าในต่างประเทศ 268 ล้านบาท

และ 11.สาขาเกมพัฒนาหลักสูตร การส่งเสริมผู้ประกอบการ ส่งเสริมกองทุน และสร้างสนามกีฬาอีสปอร์ตแห่งชาติ รวมประมาณ 374 ล้านบาท

โดยหลังจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไปหารือกับสำนักงบประมาณ ซึ่งโครงการบางส่วน อาจมีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐอยู่แล้ว หรือบางสาขาตั้งงบประมาณน้อยกว่าที่จะต้องใช้ จึงอาจต้องมีการทบทวนให้เสร็จสิ้นภายใน 14 ธันวาคมนี้ ก่อนส่งให้คณะกรรมการฯ ชุดใหญ่พิจารณาอีกครั้งในเดือนมกราคม

นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเฟสติวัล ได้เปิดเผยถึงการจัดกิจกรรม World Water Festival เพื่อส่งเสริมประเพณีอันงดงามของไทยสู่สายตาชาวโลกให้คนทั่วโลกหันกลับมามองประเทศไทยอีกครั้งผ่านประเพณี วัฒนธรรม และกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีการจัดให้เป็นระบบร้อยเรียงเป็นเรื่องราว 77 จังหวัดทั่วประเทศ ตลอด 365 วัน และคณะกรรมการ จะจัดทำแอพคลิเคชั่น เพื่อนำเสนอเรื่องราวซอฟต์พาวเวอร์ไทยทั้ง 10 ด้าน เพื่อให้คนทั้งโลกมีความเข้าใจมากขึ้น รักเมืองไทยมากขึ้น และเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย

นางชฎาทิพ ยังเปิดด้วยว่า ในปีหน้าคณะกรรมการฯ ได้มีการจัดเตรียมกิจกรรมไว้กว่า 10,000 กิจกรรม 365 วันทั่วไทย โดยวาระแห่งชาติคือการจัดกิจกรรม "มหาสงกรานต์ World water Festival" ให้ประเทศไทยเป็นเจ้าแห่งสงกรานต์โลก ที่ไม่มีใครสามารถอ้างสิทธิ์ได้ โดยจะจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ ผ่านงานมหาสงกรานต์ตลอดเดือนเมษายน โดยมีศูนย์กลางที่ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และรวบรวมเรื่องราวทั้ง 77 จังหวัดผ่านขบวนแห่ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวสิ่งสุดยอดในจังหวัดนั้น ๆ ตลอด 3 วัน 3 คืน และจะมีเวทีกิจกรรมโดยรอบ ซึ่งมีเวทีใหญ่ที่สนามหลวง และเวทีย่อยที่ลานคนเมือง และลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ โดยจะมีการออกร้าน และจัดแสดงวัฒนธรรมไทย ซึ่งครอบคลุม 11 ซอฟต์พาวเวอร์

นอกจากนั้น ยังจะมีการแสดงระดับโลก และนักร้อง นักแสดงระดับโลกมาร่วมเฉลิมฉลองปีใหม่ไทยด้วย โดยจะจัดอย่างครอบคลุมทุกมิติซอฟต์พาวเวอร์ไทย เพื่อให้คนทั่วโลก นึกถึงสงกรานต์แล้ว จะต้องมาเฉลิมฉลองที่ประเทศไทยเท่านั้น เพื่อมาเล่นน้ำร่วมกันบนถนนราชดำเนิน โดยจะมีการประดับสถานที่ให้สวยงานให้เป็นที่กล่าวขานทั่วโลก และนอกเหนือกรุงเทพมหานครแล้ว ยังจะเลือกจังหวัดจุดเด่นในแต่ละภาค ซึ่งบางจังหวัดจัดกิจกรรมทั้งก่อน และหลัง 13 เมษายน โดยจะจัดกระจายทุกภาคทั่วทั้งเดือน เพราะกิจกรรมในแต่ละพื้นที่ก็จะมีความสนุกสนานไม่เหมือนกัน ดังนั้น นักท่องเที่ยวสามารถเลือกท่องเที่ยวได้ และผลที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ ประชาชนจะมีรายได้ และเกิดการจ้างงานในระดับหมู่บ้านทุกจังหวัด ซึ่งจะมีการจัดอบรมต่อยอดการจัดเฟสติวัล ให้เป็นอาชีพ โดยมีการประเมินว่า รายได้จากการจัดงานดักล่าวเพียงกิจกรรมเดียว จะสะพัดไม่ต่ำกว่า 35,000 ล้านบาท โดยหลังจากนี้ คณะกรรมการ จะมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อสรุปกิจกรรมทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม และจะมีการพิจารณางบประมาณทั้งหมดในเดือนมกราคมนี้

นายแพทย์สุรพงษ์ ระบุว่า สำหรับงบประมาณที่จะนำมาใช้จัดกรรมมหาสงกรานต์นี้ อาจจะต้องขอใช้งบกลาง เพื่อมาดำเนินการในกิจกรรมดังกล่าวบางส่วน เพราะบางงบประมาณแต่ละกระทรวงที่เกี่ยวข้องมีงบประมาณอยู่แล้ว และที่ต้องใช้งบกลาง เนื่องจาก งบประมาณปกติ จากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายฯ นั้น สภาผู้แทนราษฎร ไม่สามารถพิจารณาให้แล้วเสร็จในวาระที่ 3 ได้ทันต่อการจัดกิจกรรมมหาสงกรานต์ครั้งนี้ โดยคณะกรรมการฯ ชุดใหม่ จะมีการสรุปงบประมาณทั้งหมด ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี ให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป